วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

พระกริ่งปวเรศพิจารณาอย่างไร


พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม # 03


ในซอกแขนสนิมผิวเปลือกมันเทศที่เกิดจากพระเนื้อทองดอกบวบ ในส่วนที่ไม่ได้มีการสัมผัสผิวพระจะแห้ง เห็นตะเข็บด้านใน วิธีการสร้างแบบหล่อเบ้าประกบ


          พระกริ่งปวเรศที่พบเห็นกันทั่วไปในสื่อต่างๆ จะเป็นพระเนื้อนวโลหะและมีการตอกโค๊ตเม็ดงา  ซึ่งหลายคนจะเข้าใจว่าพระกริ่งที่ตอกโค๊ตเม็ดงานั้นต้องเป็นพระกริ่งปวเรศที่สร้างขึ้นที่วัดบวร โดยพระสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นผู้อธิษฐานจิต พระกริ่งไม่ว่าพิมพ์ทรงอย่างไร ถึงแม้พิมพ์พระจะไม่เหมือนพิมพ์ที่โด่งดังเช่าหากันถึง 30 ล้านบาท ก็จะถูกตีว่าเป็นพระกริ่งปวเรศไปหมด  อย่างพระกริ่งองค์บนนี้ ถ้าใครเห็นด้านหลังมีโค๊ตงาก็จะเข้าใจว่าเป็นพระกริ่งปวเรศ พอดูเนื้อหาพิมพ์ทรงแล้วยิ่งแปลกไปมาก บางคนที่ไม่รู้จักพระกริ่งเนื้อทองดอกบวบเป็นอย่างไร อาจจะคิดว่าพระกริ่งองค์นี้เป็นของปลอมก็เป็นได้ บางคนก็ว่าเป็นพระกริ่งปวเรศ แต่สร้างเมื่อไหร่อย่างไร ไม่มีการจดบันทึก จะฟันธงไปเลยก็ไม่ได้
      ความจริงการสร้างพระที่ไม่มีการจดบันทึกไว้ก็มี หรือรู้กันภายใน แต่คนเหล่านั้นล้วนเสียชีวิตไปหมดแล้ว ก็ไม่รู้ว่าคนเหล่านั้นได้บอกลูกหลานไว้บ้างหรือไม่ 
      วิเคราะห์พระกริ่งองค์นี้ เนื้อทองดอกบวบสนิมผิวเปลือกมันเทศ การเกิดสนิมแบบนี้ต้องใช้เวลานานเป็น 100 ปี ทองดอกบวบมีเนื้อทองคำแท้อยู่ประมาณ 40 % ขึ้นไป และโลหะทองเหลือง อาจจะมีโลหะเงินผสมอยู่บ้างแต่น้อยมาก พระกริ่งจีนอายุหลายร้อยปีขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นเนื้อทองดอกบวบหรือบางคนว่าทองม้าฬ่อ สนิมหุ้มผิวสีเปลือกมันเทศหรือสีน้ำตาลเข้ม ถ้าใครเคยเห็นพระกริ่งจีนใหญ่ก็จะรู้ว่าพระกริ่งองค์นี้เนื้อพระแบบเดียวกัน พระที่ใช้โลหะทองคำเป็นส่วนผสมในการสร้างสมัยก่อนมีก็แต่เจ้านายชั้นสูงเท่านั้น พระองค์นี้ไม่ได้สร้างที่วัดบวรแต่สร้างที่วังหน้าหรือวังหลวง บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสเข้าไปร่วมในพิธีได้ สร้างเสร็จแจกจ่ายเจ้านายชั้นสูงและคนใกล้ชิด ที่เหลือเก็บไว้ที่วังหน้า ส่วนโค๊ตงาคงเป็นสัญญลักษณ์ของวังหลวง เพื่อให้เป็นที่รู้หรือที่สังเกตุว่าสร้างจากวังหลวง
      หลวงปู่โตเป็นพระอริยสงฆ์ทีมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 มาแล้ว พระสมเด็จของหลวงปู่โตทำไปแจกไป
แต่พระกริ่งที่ทางวังหลวงจัดสร้างจะมีพิธีกรรมทางพราหมณ์อยู่บ้าง แต่สำหรับหลวงปู่โตพร้อมเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เพราะหลวงปู่โตเป็นพระอริยสงฆ์ที่ไม่ยึดติดเรื่องฤกษ์ยามอยู่แล้ว พระกริ่งที่วังหลวงจัดสร้างนั้นเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 3-5  พระกริ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้อทองดอกบวบ หลวงปู่โตอธิษฐานจิต
      พระกริ่งองค์แรกสร้างจากเหล็กไหลหลายชนิดรวมกัน ต่อมาก็เป็นพระกริ่งเนื้อทองดอกบวบ ซึ่งในตอนแรกช่างชาวจีนมาช่วยแกะแม่พิมพ์และบอกส่วนผสมให้ที่เหมือนกับพระกริ่งจีนนอก

พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม # 06


พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม # 07


พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม # 09

     
     พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม # 09 ก้นลึกแบบก้นครก(ครกบดยา) เมื่อหล่อองค์พระเสร็จแล้ว นำโลหะชนิดเดียวกันมาตีแผ่ให้เป็นแผ่น ใช้ความร้อนเป่าแบบที่ช่างทำทองใช้กัน แล้วใช้ค้อนตีหรือเคาะไปเรื่อยๆเพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ เมื่อโลหะเริ่มเย็นลงก็ไปเป่าไฟแล้วมาตีจนกว่าจะได้แบบที่ต้องการ จากนั้นค่อยเอามาประกบกับตัวพระและเชื่อมต่อติดองค์พระด้วยน้ำประสานทองสูตรพิเศษ ตกแต่งรอยต่อให้เรียบร้อยบางองค์อาจะมองไม่เห็นตะเข็บรอยต่อบางองค์ก็เห็น อยู่ที่ความละเอียดและฝีมือของช่างแต่ละคน จากนั้นค่อยเจาะก้นและบรรจุเม็ดกริ่ง และอุดรูรอยเจาะให้สนิดไม่มีการตกแต่งให้ดูเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกันยากต่อการตกแต่งและเสียเวลามาก เลยบรรจุเม็ดกริ่งก่อนแล้วประกบแผ่นปิดก้นครกเชื่อมประสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน สังเกตุจากรูปก้นครกเหมือนมีรอยตอกเป็นวงกลมแต่ไม่ขาด มีรอยตกแต่งที่เป็นลายไปทางเดียวกัน แสดงว่าพระกริ่งองค์นี้ไม่ได้เจาะก้นเพื่อบรรจุเม็ดกริ่งแต่บรรจุเม็ดกริ่งแล้ว ค่อยประกบก้นและเชื่อมหรือบัดกรีด้วยน้ำประสานทองตกแต่งรอยต่อไม่ให้เห็นรอยตะเข็บ (ถ้าเป็นก้นถ้วยก็จะง่ายกว่านี้มาก) เป็นช่างทองฝีมือถึงจะทำได้ ซึ่งสมัยนี้จะทำได้ง่ายกว่า หล่อเสร็จถ้าไม่เจาะก้นก็เจาะสะโพกบรรจุเม็ดกริ่งมีตัวอุดที่เจาะไว้พอดีไม่ค่อยยุ่งยาก  ดูรูปข้างล่างการเจาะก้นอุดกริ่ง ที่ขอบข้างจะหนากว่าดูสวยงามสู้องค์บนไม่ได้ การสร้างอย่างนี้ทำให้เม็ดกริ่งมีเสียงดังใสกว่าก้นอย่างอื่น  ช่างสมัยก่อนนี้ฝีมือจริงๆ

พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐมเนื้อและพิมพ์เดียวกัน ต่างกันที่ก้นกริ่ง


พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม # 09ฝีมือปราณีตไม่เห็นรอยตะเข็บ
     พระกริ่งสมเด็จองค์ปฐม ทำไมจึงเรียกชื่อนี้ เรียกชื่ออื่นได้ไหม เรียกพระกริ่งสมเด็จโตก็ได้ เรียกได้สองชื่อนี้ครับ เพราะการสร้างและอธิษฐานจิตแต่ละครั้ง องค์หลวงปู่โตได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าองค์ปฐมเป็นประธานในการร่วมอธิษฐานจิตพระกริ่งทุกองค์ทุกพิมพ์ ทุกครั้ง ฉะนั้นจะเรียกพระกริ่งที่หลวงปู่โตอธิษฐานจิตว่าพระกริ่งสมเด็จองค์ปฐมก็ไม่ผิด ต่างกันกับพระพุทธเจ้าองค์ปฐมที่มีการสร้างขึ้นมาหลายวัดในเวลานี้ เพราะประธานในการสร้างหรืออธิษฐานจิตปลุกเสกไม่สามารถอันเชิญพระพุทธเจ้าองค์ปฐมมาร่วมอธิษฐานจิตได้ ลองพิจารณากันดูนะครับ
       สมมุติถ้าคุณจะสร้างพระเครื่องชุดหนึ่ง คุณสามารถไปนิมนต์พระสังฆราชมาร่วมงานได้หรือไม่หรือแม้แต่พระเกจิดังๆทั่วประเทศคุณนิมนต์มาร่วมงานได้หรือเปล่า แต่ถ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอาจจะได้แต่ไม่ทั้งหมด แล้วผู้ใดจะสามารถนิมนต์มาได้ทั้งหมด คงรู้แล้วนะครับ ต้องมีบุญและบารมีอย่างสูงใช่ไหมครับ
        หลวงปู่โตไม่ได้เป็นพระโอ้อวดแต่หลวงปู่โตรู้ว่าในอนาคตจะมีคนรู้เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น