พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัวยุคต้นปี พ.ศ. ๒๓๘๐ เนื้อสัมฤทธิ์แดงหรือสัมฤทธิ์ผล ผสมด้วยโลหะธาตุ ๓ ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สีคล้ายมะขามเปียก พระกริ่งปวเรศชุดนี้มีการอธิษฐานจิตปลุกเสกเพิ่มตั้งแต่ ๑-๓๑ พรรษา หลังองค์พระจาร "นะชาลีติ" ฐานด้านหลังไม่มีบัว ฐานชั้นบนจาร "นะมะพะทะ" ฐานชั้นล่างจารพ.ศ.ที่สร้างและพ.ศที่ปลุกเสกถึง ก้นครกบดยาจารเต็ม
พระกริ่งปวเรศที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๓๘๐มีสร้างหลายพิมพ์ อธิษฐานจิตปลุกเสกโดย พระวชิรญาณเถระ เจ้าอาวาสอันดับที่ ๑ ของวัดบวรฯ(รัชกาลที่ ๔ ในขณะนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ) หลวงปู่โต กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์และพระคณาจารย์อีกหลายท่าน "เจ้าสัว" ที่เรียกพระกริ่งปวเรศพิมพ์นี้ว่าพิมพ์เจ้าสัวเพราะสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๘๐ อยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๓ เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า(ในสมัยรัชกาลที่ ๒) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ๓๗ พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๓
ลักษณะพระกริ่งพิมพ์เจ้าสัวจะดูเล็กกว่าพิมพ์ทั่วไปแต่จะไปใกล้เคียงกับพระกริ่งปวเรศพิมพ์อุบาเก็ง เนื้อพระกริ่งมีความใกล้เคียงกันมาก ลักษณะพระพักตร์และองค์พระดูจะเล็กกว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่อาจเป็นไปได้ว่าช่างได้แกะพิมพ์พระองค์ท่านในสมัยวัยหนุ่ม แม้รัชกาลที่ ๕ สมัยวัยหนุ่มก็ดูรูปร่างเล็กเช่นกัน พอพระชันษามากขึ้นก็ดูภูมิฐานขึ้นไปด้วย เรื่องทั้งหมดนี้จะเชื่อก็ได้ไม่เชื่อก็ได้ แต่พระกริ่งปวเรศชุดนี้มีพลังพุทธานุภาพสูงกว่าพระกริ่งปวเรศเนื้อกลับดำแน่นอน ถ้าท่านใดที่สัมผัสพลังพระได้จะรู้ถึงพลังที่แตกต่างอย่างชัดเจน
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ กรุงเทพมหานครถูกยึดครองเป็นเวลาถึง ๑๒วัน ด้วยกองเรือรบติดอาวุธของฝรั่งเศส อย่างหมดหนทางต้านทานจากฝ่ายไทย ชาวบ้านร้านตลาดพากันอพยพหนีภัยกันจ้าละหวั่นด้วยความแตกตื่นตกใจ แม้แต่รัชกาลที่ ๕ ยังทรงเสียพระราชหฤทัยจนประชวรหนัก และหยุดเสวยพระโอสถ ทรงสิ้นหวังรันทดท้อขนาดมีพระราชนิพนธ์โคลงฉันท์ “ส่งไปลา” เจ้านายพี่น้องบางพระองค์อย่างหมดอาลัยในพระชนมชีพ ไม่มีพระราชประสงค์ดำรงอยู่อีกต่อไป ทรงอดสูพระทัยที่ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายให้ดีขึ้นได้ จนมีข่าวลืออันอัปยศแพร่สะพัดไปในหมู่ชาวต่างด้าวว่า “พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงสั่งให้ขนพระราชทรัพย์ลงบรรทุกเรือพระที่นั่ง และเตรียมพร้อมที่จะเล็ดลอดหลบหนีออกไปจากเมืองหลวงในเวลากลางคืน เพื่อให้รอดพ้นภยันตรายต่างๆ” เส้นตายนั้นคือการตอบรับอย่างไม่มีเงื่อนไขใน ๔๘ ชั่วโมงตามข้อเรียกร้องหินของฝรั่งเศส ในคำขาดนี้มีคำข่มขู่อันแข็งกร้าวปราศจากข้อต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น ให้ทรงตัดสินพระทัย ชนิดที่ไม่มีทางออก โดยให้มอบผืนแผ่นดินในพระราชอาณาเขตบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมด้วยเงินค่าไถ่เป็นค่าปฏิกรณ์สงครามที่ฝ่ายไทยถูกกล่าวหาว่าก่อขึ้นก่อนโดยการเปิดฉากยิงเรือฝรั่งเศส คิดเป็นเงินสดจำนวนทั้งสิ้นรวม ๕,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ และให้วางในทันทีก่อน ๑๘.๐๐ น. ของเย็นวันที่ ๒๒ กรกฎาคมศกนั้น มิฉะนั้นกระสุนจากปืนใหญ่บนเรือรบที่ทันสมัยที่สุดจะถูกสั่งให้ระดมยิงเข้าไปในพระที่นั่งจักรีอย่างไม่ปรานีอีกต่อไป
รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ซึ่งยึดมั่นอยู่กับความหวังสุดท้าย ว่าอังกฤษจะไม่ทอดทิ้งประเทศของพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะขัดขืนฝรั่งเศสและข้อเรียกร้องต่างๆ ฝ่ายที่ต่อต้านฝรั่งเศสนี้เป็นพวกที่ชื่นชมอังกฤษ ความเฉยเมยของอังกฤษ และต่อมาคำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะไม่ยอมเข้าแทรกแซงในความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ทำให้พระปิยมหาราชทรงผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ก่อนถึงเส้นตายในการหาค่าไถ่ มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทูลเตือนให้ทราบ ถึงเงินพระคลังข้างที่จากสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเก็บสะสมไว้จำนวนหนึ่งใน “ถุงแดง” เงินพระคลังข้างที่คือพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินรายได้แผ่นดินส่วนหนึ่ง ที่แบ่งถวายพระมหากษัตริย์เพื่อใช้จ่ายส่วนพระองค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น “เงินถุงแดง” ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสะสมไว้เป็นเงินส่วนพระองค์ แต่ก็แปลกที่เงินนี้ไม่ใช่เงิน “พดด้วง” ซึ่งเป็นเงินของไทยที่ใช้อยู่ในสมัยนั้น แต่กลับเป็นเงินของประเทศเม็กซิโกที่อยู่คนละซีกโลก ซึ่งเรียกกันว่า “เหรียญนก” เพราะเป็นเหรียญที่มีรูปนกอินทรีย์อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเม๊กซิโก และเป็น๑ใน ๓ ของสกุลเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้ากันในย่านนี้ เช่นเดียวกับเงินเปรูและเงินรูเปียของอินเดีย เงินถุงแดงนี้สามารถช่วยไถ่ประเทศจากการรุกรานล่อาณานิคมของฝรั่งเศสได้ รวมกับเงินและทรัพย์สมบัติของเชื้อพระวงศ์อีหลายพระองค์ ในขณะที่เงินถุงแดงมีจำนวนทั้งสิ้น ๒.๔ล้านฟรังก์ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการและประชาชน ได้ช่วยกันขายทรัพย์สินและบริจาคจนได้เงินเพิ่มมาอีก ๖๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ จนครบ ๓ ล้านฟรังก์ จึงสามารถจ่ายค่าไถ่ครั้งนี้ได้ ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพื่อถวายพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ ๒๓๘๐ ที่เป็นปีที่มีการสร้างพระกริ่งปวเรศไว้หลายพิมพ์จึงสร้างพระกริ่งปวเรศที่มีพระพักตร์ละม้ายคล้ายพระองค์ท่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น